การนอนสำคัญไฉน
ร่างกายคนเราเป็นเสมือนเครื่องจักรที่ต้องทำงาน 24 ชั่วโมง การนอนเหมือนกับให้เครื่องจักรได้หยุดพัก ร่างกายจะอาศัยช่วงเวลานอนหลับซ่อมแซมพักฟื้นตนเอง ปรับปรุงระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้มีประสิทธิภาพ เสริมสร้างความจำของสมองและขับของเสีย พร้อมทั้งสะสมพลังงานเพื่อใช้ในวันรุ่งขึ้น การนอนจัดเป็นส่วนที่ขาดเสียไม่ได้ของชีวิต คนเราจึงต้องใช้เวลา 1 ใน 3 ของชีวิตในการนอน การนอนหลับในแต่ละช่วงเวลามีความสำคัญต่างกันต่อสุขภาพ อาทิ
- การนอนหลับในช่วง 3 ทุ่ม – 5 ทุ่ม จะช่วยให้ระบบน้ำเหลืองขับของเสียได้ดีขึ้น พร้อมทั้งเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้น
- การหลับสนิทในช่วง 5 ทุ่ม
- ตี 1 จะช่วยให้ตับขับของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระตุ้นให้เซลล์ผิวซ่อมแซมตัวเองและมีการผลัดเซลล์ใหม่ซึ่งจะเร็วกว่าปกติถึง 8 เท่า
- การนอนหลับในช่วงเที่ยงคืน
- ตี 4 จะกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงอย่างมีประสิทธิภาพ
- การนอนหลับในช่วงตี 1 – ตี 3 จะกระตุ้นให้ถุงน้ำดีขับพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การหลับสนิทในช่วงตี 3 – ตี 5 จะส่งเสริมให้ปอดขับพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ฉะนั้น การนอนไม่หลับเป็นประจำหรือคุณภาพการนอนหลับไม่ดีเท่าที่ควรจะส่งผลกระทบต่อทุก ๆ ระบบของร่างกาย ทำให้แก่ก่อนวัยและเพิ่มความเสี่ยงต่อหลาย ๆ โรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต เบาหวาน ความจำเสื่อม โรคซึมเศร้า เป็นต้น
อย่างไรจึงเรียกว่านอนไม่หลับ
คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่านอนไม่หลับหมายถึงตาค้าง กระสับ กระส่ายอยู่บนที่นอน แต่จริง ๆ แล้วนอนไม่หลับเป็นภาวะที่นอนไม่พอและยังหมายรวมถึงอาการดังนี้
- หลับยาก ใช้เวลามากกว่า 30 นาทียังไม่หลับ
- หลับไม่ลึก ระยะเวลาในการนอนหลับลดลง
- ตื่นบ่อย ตอนกลางคืนตื่นเกินกว่า 2 ครั้งและหลับต่อยาก
- ตื่นเช้าเกิน เมื่อตื่นแล้วรู้สึกไม่สดชื่น
- ฝันบ่อย รู้สึกตนเองฝันอยู่ทั้งคืน
- ตื่นง่าย มีเสียงหรือแสงรบกวนเพียงนิดเดียวก็จะตื่น
- คุณภาพการนอนไม่ดี เวลานอนเพียงพอ แต่ตื่นขึ้นมารู้สึกไม่สดชื่น
- อ่อนเพลียในวันรุ่งขึ้น ง่วงเมื่อเวลาทำงาน รู้สึกมึน ๆ งง ๆ สมองไม่ปลอดโปร่ง
อาการนอนไม่หลับอาจเกิดขึ้นชั่วคราวในบางช่วงของชีวิต เช่น มีเรื่องเครียด ๆ อาการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เป็นต้น เมื่อสาเหตุของการกระตุ้นหมดไป อาการนอนไม่หลับก็จะหายไปเองได้ แต่ถ้ามีอาการเกิน 1 เดือนให้ถือว่าเป็นอาการนอนไม่หลับชนิดเรื้อรัง ควรหาสาเหตุและรักษาอย่างจริงจัง
รู้ได้อย่างไรว่านอนไม่พอ
ความต้องการในการนอนของแต่ละคนไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ อายุ สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตและพันธุกรรม เมื่อระยะเวลาหรือคุณภาพของการนอนไม่สอดคล้องกับความต้องการของร่างกาย ร่างกายก็จะส่งสัญญาณหลาย ๆ อย่างถึงเรา อาทิ
- รู้สึกอ่อนเพลียทั้งวันและงีบหลับในระหว่างวันบ่อย
- เวลาทำงานมีอาการง่วงเหงาหาวนอน ขาดสมาธิหรือมึน ๆ งง ๆ ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- อารมณ์แกว่ง โกรธง่ายโดยไม่มีสาเหตุเพียงพอ
- หลับภายใน 5 นาทีหลังจากนอน
- บางคนอาจหลับในขณะตื่นโดยไม่รู้ตัว
การนอนชดเชยในวันหยุด...ชดเชยได้จริงหรือ
การเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและวิถีชีวิตในปัจจุบันทำให้คนเราต้องเบียดเวลานอนไปกับกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นมือถือ ทำงานหรืองานสังสรรค์ ทำให้คนส่วนใหญ่ประสบปัญหานอนไม่พอและมักจะแก้ไขด้วยวิธีการนอนชดเชยในวันหยุด แต่หารู้ไม่การนอนชดเชยในลักษณะเช่นนี้ไม่อาจฟื้นฟูร่างกายจากผลกระทบของการนอนไม่พอที่สะสมเรื่อยมาอีกทั้งยังไปทำให้นาฬิกาชีวิตเกิดความสับสน ซึ่งจะส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลียไม่สดชื่นในวันรุ่งขึ้นและยังเป็นต้นเหตุของหลาย ๆ โรคด้วย
การใช้ยานอนหลับอันตรายอย่างไร
เมื่อนอนไม่หลับหนัก ๆ เข้าหลาย ๆ คนก็จะนึกถึงยานอนหลับ ถึงแม้ว่ายานี้จะเป็นยาพื้นฐานในการบรรเทาอาการนอนไม่หลับของการแพทย์ตะวันตกก็ตาม แต่ไม่ใช่ทางออกที่ดีและปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย ทั้งนี้ เนื่องจากยานอนหลับไม่ได้รักษาต้นเหตุของอาการ อีกทั้งยังมีอันตรายหลายอย่างที่จะตามมา อาทิ
- ดื้อยา การใช้ยานอนหลับขนาดเดิมติดต่อกันระยะหนึ่งแล้ว ทำให้นอนหลับได้น้อยลงจึงต้องเพิ่มขนาดยามากขึ้นเรื่อย ๆ จนได้รับสารพิษจากยา
- เสพติด เมื่อใช้ยาติดต่อกันระยะหนึ่งแล้วหยุด อาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับขึ้นอีกจนต้องกลับมาใช้ยาต่อเป็นประจำทุกวันเพื่อให้นอนหลับ
- ถอนยา ถ้าไม่ได้รับประทานยาจะรู้สึกกระสับกระส่าย ไม่สามารถอยู่นิ่งได้ ต้องเดินไปเดินมา เกิดอาการนอนไม่หลับอย่างรุนแรงยิ่งกว่าตอนแรก
- อารมณ์สับสน อาจมีอาการก้าวร้าว ฉุนเฉียว เหม่อลอยหรือซึมเศร้าตามมา
- ความจำเสื่อม ขาดสมาธิ มีปัญหาความจำเสื่อมทั้งระยะสั้นและระยะยาว
สาเหตุการนอนไม่หลับในทัศนะการแพทย์จีน
ในทัศนะการแพทย์จีน หัวใจ นอกจากควบคุมระบบการไหลเวียนของโลหิตแล้ว หัวใจ ยังมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมจิตใจ (神 : เสิน) จิตใจมี 2 ความหมาย คือ
- ความหมายอย่างแคบ จิตใจ คือ อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด
- ความหมายอย่างกว้าง จิตใจ คือ การแสดงออกภายนอกจากการทำงานของร่างกาย เช่น สีหน้า แววตา ท่าทาง การเคลื่อนไหว การพูดจา การตอบสนอง เป็นต้น
ถ้าหัวใจอยู่ในภาวะหยินหยางสมดุลก็จะทำงานปกติ มีความกระปรี้กระเปร่า แจ่มใส ความคิดฉับไว ถ้าหัวใจขาดภาวะสมดุลโดยเฉพาะหยินในหัวใจพร่องลงก็จะทำให้หัวใจรุ่มร้อน ส่งผลให้นอนไม่หลับ ตื่นง่าย ฝันบ่อย กระวนกระวาย ขี้หลงขี้ลืม ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ แผลในปาก อุจจาระแข็ง ไทรอยด์เป็นพิษ ฯลฯ พร้อมทั้งส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบอื่น ๆ อีกด้วย
การแพทย์จีนจึงนิยมใช้สูตรยาสมุนไพรที่บำรุงหยินและบำรุงเลือดในหัวใจเพื่อบำบัดอาการนอนไม่หลับที่เกิดจากหัวใจรุ่มร้อนเกินไป
ตัวอย่างสมุนไพรจีนที่สำคัญ
ตี้หวัง : 地黄 (Rehmannia Glutinosa Libosch)
บำรุงหยินและบำรุงเลือด ขับความร้อนทำให้เลือดเย็น สร้างสารน้ำหล่อเลี้ยงร่างกาย
เทียนตอง : 天冬 (Radix Asparagi)
บำรุงหยินและขับพิษร้อน ช่วยลดอาการกระหายน้ำ บรรเทาอาการปวดเมื่อยบริเวณเอว ท้องผูกเรื้อรังจากการขาดน้ำหล่อเลี้ยงลำไส้
มั่ยตอง : 麦冬 (Radix Ophiopogonis)
บำรุงหยินและขับพิษร้อน สร้างสารน้ำหล่อเลี้ยงร่างกาย บำรุงหยินของปอด หัวใจ ลดเบาหวาน บรรเทาอาการท้องผูก ใจสั่น นอนไม่หลับ
ซวันเจ่าเยิน : 酸枣仁 (Semen Ziziphi Spinosae)
บำรุงหัวใจ ช่วยให้จิตใจสงบ ลดใจสั่น ห้ามเหงื่อสร้างสารน้ำหล่อเลี้ยงร่างกาย
ป๋อจื่อเยิน : 博子仁 (Semen Platycladi)
บำรุงหัวใจ ช่วยให้จิตใจสงบ บรรเทาอาการนอนไม่หลับ ใจสั่น ท้องผูก
ตังกุย : 当归 (Redix Angelicae Sinensis)
บำรุงเลือด สลายเลือดคั่ง ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจ ลดปวดประจำเดือน ลดอาการวิงเวียนศีรษะ ใจสั่น
ตั่งเซิน : 党参 (Radix Codonopsis)
บำรุงพลังลมปราณ เสริมการทำงานของม้าม บำรุงปอด บำรุงเลือด สร้างสารน้ำหล่อเลี้ยงร่างกาย ลดอาการเบื่ออาหาร ใจสั่น ผู้ที่มีเลือดจาง
ฝูหลิง : 茯苓 (Poria)
บำรุงหัวใจ ทำให้ไตและหัวใจทำงานสัมพันธ์กันได้ดีขึ้น บำรุงม้าม ขับความชื้น ขับปัสสาวะ ลดอาการบวมน้ำ ตกใจง่าย นอนไม่หลับ
หยวนจื้อ : 远之 (Radix Polygalae)
บำรุงหัวใจ ทำให้ไตและหัวใจทำงานสัมพันธ์กันได้ดีขึ้น ช่วยให้จิตใจสงบ ขับเสมหะ ลดอาการบวมน้ำ นอนไม่หลับ ฝันบ่อย ตกใจง่าย ขี้ลืม
ซือชางผู่ : 石菖蒲 (Rhixoma Acori Tatarinowii)
บำรุงหัวใจ ทำให้ไตและหัวใจทำงานสัมพันธ์กันได้ดีขึ้น ช่วยให้จิตใจสงบ ขับความชื้น บรรเทาอาการโรคลมชัก อาการขี้หลงขี้ลืม นอนไม่หลับ หูอื้อ ลดอาการปวดบวมที่เต้านม
อาการนอนไม่หลับ ตื่นง่าย ฝันบ่อย และอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากภาวะหยินในหัวใจพร่องลง เช่น กระวนกระวาย ใจสั่น ขี้หลงขี้ลืม หัวใจเต้นผิดจังหวะ แผลในปาก อุจจาระแข็ง ฯลฯ ก็จะค่อย ๆ ทุเลาลงและอาจหายไปในที่สุดเมื่อใช้สมุนไพรตำรับนี้ติดต่อกันอย่างน้อย 1-3 เดือน ระยะเวลาอาจไม่เท่ากันในแต่ละคน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุ ความรุนแรงของอาการและระยะเวลาที่เรื้อรัง