กระดูกทับเส้นหรือรากประสาทขาถูกกดทับคืออะไร…
สันหลังคนเราประกอบด้วยกระดูกสันหลังชิ้นย่อย ๆ กว่า 30 ชิ้น เรียงต่อกันเป็นแนวจากต้นคอจรดก้นกบ ระหว่างกระดูกแต่ละข้อมีแผ่นกระดูกอ่อนหรือที่เรียกว่า หมอนรองกระดูกสันหลัง คั่นกลาง ทำหน้าที่ป้องกันการเสียดสีและเป็นเสมือน โช้คอัพเพื่อดูดซับและกระจายแรงอัด ภายในโพรงกระดูกสันหลังประกอบไปด้วยไขสันหลังและมีเส้นประสาทแยกแขนงจากไขสันหลังไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เส้นประสาทส่วนต้นสุดที่แยกแขนงออกมาจากไขสันหลังเรียกว่า รากประสาท ซึ่งจะอยู่ชิดกับหมอนรองกระดูก
เมื่อหมอนรองกระดูกเคลื่อนตัวก็จะกดทับรากประสาทที่ไปเลี้ยงแขนหรือขา ทำให้มีอาการปวด เสียวและชาของแขนหรือขา ส่วนรากประสาทที่ถูกกดทับมักจะพบบ่อยจากการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณกระเบนเหน็บหรือบั้นเอว ทำให้มีการกดทับรากประสาทไซอาติก (Sciatic Nerve) ที่ไปเลี้ยงขา
กระดูกทับเส้นมีอาการอย่างไร
- ปวดหลัง ปวดเอว ปวดร้าวหรือชาลงที่ขา
- มักปวดร้าวที่ขาเพียงข้างใดข้างหนึ่ง
- อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเวลาเดินมาก ก้ม นั่ง ไอ จามหรือเบ่งถ่าย
- ในกรณีเป็นมาก เท้าจะอ่อนแรงและชา
- อาจปัสสาวะไม่ได้หรือกลั้นไม่อยู่
- หากเป็นนานอาจทำให้กล้ามเนื้อขาอ่อนแรงและลีบลง
- ไม่สามารถยกเท้าเหยียดตรงได้ 90 องศา
สาเหตุกระดูกทับเส้นในทัศนะการแพทย์จีน
การแพทย์จีนได้จัดโรคกระดูกทับเส้นหรือรากประสาทขาถูกกดทับให้อยู่ในกลุ่มโรคชาและปวดเมื่อย (痹症) ซึ่งมีสาเหตุมาจากพิษลม พิษเย็นและพิษชื้นที่สะสมบริเวณเอว ทำให้หลอดเลือดและเส้นลมปราณติดขัด กีดขวางการไหลเวียนของโลหิตและพลังลมปราณจนเกิดอาการปวดขึ้นมา ซึ่งสอดคล้องกับหลักการวินิจฉัยและรักษาอันสำคัญของการแพทย์จีนคือ ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด (通则不痛, 痛则不通)
นอกจากนี้การไหลเวียนของโลหิตและเส้นลมปราณบริเวณเอวที่ติดขัดจะทำให้เส้นเอ็น กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังได้รับการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ พร้อมทั้งไม่สามารถขับสารพิษต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเมตาบอลิซึมออกไปได้หมดสิ้น จึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ บริเวณกระดูกสันหลังขึ้น
การแพทย์จีนมีวิธีบำบัดอย่างไร
การรักษาโรคกระดูกทับเส้นด้วยยาแก้ปวด ยาลดอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาสเตอรอยด์อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย เนื่องจากเป็นเพียงการระงับอาการปวดและอักเสบไว้ชั่วคราว แต่มิได้หยุดยั้งการลุกลามของโรค ที่สำคัญคือ พิษของยาจะก่อให้เกิดการระคายเคืองของกระเพาะอาหารทำให้อาหารไม่ย่อย กระทบต่ออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย
การแพทย์จีนจึงนิยมใช้สูตรยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณในการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต สลายเลือดคั่ง ขับพิษและแก้ปวดบวม (活血化淤, 清热消毒, 止痛消肿) เพื่อบำบัดต้นเหตุของโรครากประสาทขาถูกกดทับ โดยประกอบด้วยสมุนไพรสำคัญดังนี้
ตัวอย่างสมุนไพรจีนที่สำคัญ
จื้อชวนอู : 制川乌 (Radix Aconiti Preparata)
ขับพิษลม พิษเย็น พิษชื้น อบอุ่นเส้นลมปราณ บรรเทาอาการชาและปวดตามข้อ
จื้อฉ่าวอู : 制草乌 (Radix Aconiti Kusnezoffii Preparata)
ขับพิษลม พิษเย็น พิษชื้น บรรเทาอาการชาและปวด
ตั่นหนันซิง : 胆南星 (Arisaema Cum Bile)
ขับพิษชื้นและเสมหะที่คั่งอยู่ในร่างกาย บรรเทาอาการปวด
อยู่เซียง : 乳香 (Olibanum)
กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตและพลังลมปราณ ลดอาการบวมน้ำ ขับลม ขับความชื้น สลายเลือดคั่ง บรรเทาอาการปวด
โม่วเอี้ยว : 没药 (Myrrha)
กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตและพลังลมปราณ สลายเลือดคั่ง บรรเทาอาการปวดลดอาการบวมน้ำตามร่างกาย
ตี้หลอง : 地龙 (Pheretima)
ทะลวงเส้นลมปราณให้โล่ง บรรเทาอาการปวดตามข้อและชาตามแขนขา ลดอาการบวมน้ำ ขับปัสสาวะ
- สมุนไพรจีนที่สกัดเข้มข้นสามารถช่วย กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต สลายเลือดคั่ง ทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตขนาดเล็ก (Microcirculation) บริเวณกระดูกสันหลังทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อกระตุ้นการขับสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบและทำลายข้อ สารที่ก่อให้เกิดอาการปวด (เช่น สารเบต้าโปรตีน ไกลโคโปรตีนและฮิสตามีน เป็นต้น) รวมทั้งกรดแล็กติกที่สะสมอยู่บริเวณรากประสาทออกไปให้มากขึ้น จึงสามารถลดการระคายเคืองต่อรากประสาท และบรรเทาอาการปวดบวมได้อย่างเด่นชัด
- การไหลเวียนโลหิตขนาดเล็กบริเวณกระดูกสันหลังที่ดีขึ้น จะทำให้เส้นเอ็น เส้นประสาท กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังได้รับการหล่อเลี้ยงมากขึ้น บริเวณที่บาดเจ็บจึงได้รับการฟื้นฟูและซ่อมแซมได้เร็วขึ้นและมากขึ้น
- ปรับลดระดับความรุนแรงของปฏิกิริยาการตอบโต้จากระบบต่อมไร้ท่อเมื่อรากประสาทขาถูกกดทับ จึงลดการสร้างและการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบและทำลายข้อ พร้อมทั้งลดการหดเกร็งของหลอดเลือดบริเวณที่บาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ลดอาการบวมของรากประสาทขาและบริเวณที่บาดเจ็บ เพื่อลดแรงดึงภายในเส้นประสาทและการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณกระเบนเหน็บและบั้นเอว จึงบรรเทาอาการปวด บวมและฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของเส้นประสาทได้อย่างเด่นชัด