หูอื้อ....โรคทางหูที่พบได้บ่อยที่สุด
เสียงจั๊กจั่นและเสียงดังผสมปนเปกันภายในหูนั้น เป็นอาการทางหูที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในผู้ที่อายุเกิน 65 ปี ทำให้สมรรถภาพการได้ยินของผู้ป่วยเสื่อมถอยลงในระดับที่แตกต่างกัน พร้อมทั้งก่อให้เกิดอาการกระวนกระวาย นอนไม่หลับและขาดสมาธิร่วมด้วย สำหรับผู้ที่มีอาการหูอื้อรุนแรง อาจถึงขั้นอยู่ไม่เป็นสุข ทำให้เกิดอาการตื่นเต้น กังวลใจ ส่วนท่านใดที่มีอาการหูอื้อเรื้อรังโดยเฉพาะมีอาการหูดับ วิงเวียนศีรษะและปวดศีรษะร่วมด้วยแล้ว ยิ่งต้องเพิ่มความเอาใจใส่และรักษาแต่เนิ่น ๆ
สาเหตุหูอื้อในทัศนะการแพทย์จีน...
นับตั้งแต่โบราณ การแพทย์จีนมีคำกล่าวที่ว่า “หูเป็นหน้าต่างของไต” ไตอ่อนแอลงจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของหู จึงพบอาการหูอื้อในผู้ที่อยู่ในวัยกลางคนมากขึ้น
ในทัศนะการแพทย์จีนหยินในไตมีหน้าที่ไปหล่อเลี้ยงตับ เพื่อไม่ให้ตับรุ่มร้อนเกินไปและหยินในไตเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้หยิน-หยางของตับอยู่ในสภาวะสมดุลกัน ทั้งนี้เนื่องจากตับเป็นธาตุไม้ ไตเป็นธาตุน้ำ น้ำรดต้นไม้และกำเนิดไม้ เมื่อหยินในไตพร่องลง ตับไม่ได้น้ำมาหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอ หยางในตับก็จะมากเกินไป ทำให้ตับรุ่มร้อนความร้อนในตับก็จะลอยตัวขึ้นสู่ด้านบนไปกระทบศีรษะ ส่งผลให้เกิดอาการหูอื้อ โรคประสาทหูเสื่อม วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ปวดศีรษะ หน้าแดง ตาแดง ปากขม คอแห้ง กระสับกระส่าย หงุดหงิด ฝ่ามือร้อน เหงื่อออกตอนนอนหลับ เมื่อยและอ่อนแรงบริเวณเข่าและเอว ฯลฯ
การแพทย์จีนจึงนิยมใช้ยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณในการบำรุงหยินในไตและตับมาบำบัดหูอื้อและกลุ่มอาการที่เกิดจากหยินในไตและตับที่พร่องลง
ตัวอย่างสมุนไพรจีนที่สำคัญ
สูตี้หวัง : 熟地黄 (Radix Rehmanniae Preparata)
บำรุงหยิน บำรุงไต บำรุงเลือด บรรเทาอาการปวดเอว หูอื้อ วิงเวียน เหงื่อออกตอนกลางคืน
ซันจูหวี : 山茱萸 (Fructus Corni)
บำรุงหยินในตับ บำรุงไต บรรเทาอาการวิงเวียน หูอื้อ บรรเทาอาการปวดเมื่อยบริเวณเอว
ซันเอี้ยว : 山药 (Rhizoma Diosoreae)
บำรุงหยินในม้าม บำรุงกระเพาะอาหาร บำรุงปอด บำรุงไต
จื๋อเซี่ย : 泽泻 (Rhizoma Alismatis)
ขับเสมหะที่คั่งอยู่ในร่างกาย ขับความชื้น ขับปัสสาวะ ลดอาการบวมน้ำ บรรเทาอาการวิงเวียน
ฝูหลิง : 茯苓 (Poria)
บำรุงม้าม ช่วยให้กระบวนการเมตาบอลิซึมของน้ำในร่างกายดีขึ้น ขับความชื้น ขับปัสสาวะ บรรเทาอาการตกใจง่าย นอนไม่หลับ
หมู่ตันผี : 牡丹皮 (Cotex Moutan)
ขับพิษร้อน ทำให้เลือดเย็น สลายเลือดคั่ง อาเจียนเป็นเลือด
จู๋เอี้ยไฉหู : 竹叶柴胡 (Radix Bupleuri Marginati)
ช่วยให้เส้นลมปราณโล่งขึ้น บรรเทาอาการเป็นไข้ เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว เจ็บแน่นบริเวณทรวง
อก ประจำเดือนมาไม่ปกติ
ต้วนฉือสือ : 煅磁石 (Magnexitum)
ช่วยให้การได้ยินและการมองเห็นดีขึ้น บรรเทาอาการวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ปรับสมดุลการทำงานของกระเพาะอาหาร แก้โรคหอบหืด หูอื้อ ไตอ่อนแอ
อาการหูอื้อ โรคประสาทหูเสื่อม วิงเวียน หน้ามืด ตาลายและอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากหยินในไตและตับพร่องลง เช่น หน้าแดง ตาแดง ปากขม คอแห้ง หงุดหงิด กระสับกระส่าย ฝ่ามือร้อน เหงื่อออกตอนนอนหลับ เมื่อยและอ่อนแรงบริเวณเข่าและเอวก็จะค่อย ๆ ทุเลาลงหลังจากใช้สมุนไพรประมาณ 1 เดือน ระยะเวลาอาจไม่เท่ากันในแต่ละคน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุ ความรุนแรงของอาการและระยะเวลาที่เรื้อรัง